03 January 2021

"Water cress" "ผักน้ำ" "ผักเป็ดญี่ปุ่น"

ผักอะไร หน้าตา คล้ายกันเสียจริง มีหลายชื่อ หลายคนคงเคยเห็นและก็อาจจะเคยลิ้มลองมาบ้างแล้ว อร่อยหรือไม่อร่อยต้องไปถามคนเคยกิน ในเรื่องรสชาติและสรรพคุณของผักชนิดนี้ แต่วันนี้ไม่ได้มาชวนกิน แต่มาชวนปลูก เพื่อที่จะได้มีไว้กินเอง เพิ่มความหลากหลายให้กับมื้ออาหารในครอบครัว

มาลงมือกัน วิธีปลูก ก็ง่ายแสนง่ายเอาก้าน เอาต้น (แล้วแต่จะเรียก) มาจิ้มๆลงในกระถาง กะละมังแตก ตามแต่จะหาได้ รดน้ำวันละครั้ง ตอนเช้าพาออกมาอาบแดด พอแดดแรงก็พาหลบเข้าร่ม  ปุ๋ยก็ใส่บ้างไม่ใส่บ้าง ตามความขยัน เดือนเดียวก็ได้ผักใบใหญ่ สวยงาม มาทำกับข้าวแล้ว


ข้อมูลเพิ่มเติม หากใครสนใจก็ไปตามอ่านเพิ่มเติมได้จ้า

Water cress ในประเทศไทย

ผักสลัดน้ำ หรือ วอเตอร์เครส (water cress) กับ ผักเป็ด ต่างกันอย่างไร

1.Watercress (Nasturtium officinale)
ผักสลัดน้ำ หรือ วอเตอร์เครส (WATER CRESS)  นั้นอยู่ใน GENUS  NASTURTIUM  ซึ่งที่ปลูกสลัดน้ำกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยน่าจะมีแห่งเดียวคือที่ เบตง ยะลา ที่นั่นเรียกผักน้ำเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ปลูกอยู่ในอำเภอเบตง

ถิ่นกำเนิด   มีแหล่งปลูกกันมากแถบประเทศฝรั่งเศส  แล้วนำมาปลูกในประเทศจีน  ประเทศไทยได้นำเข้ามาปลูกแถบภาคเหนือ  และภาคใต้  ด้วยการนำเข้ามาปลูกโดยชาวจีนอพยพ  สำหรับอำเภอเบตงได้ปลูกผักน้ำกันตั้งแต่นั้นมา  การปลูกผักน้ำสมัยแรก   มีการปลูกบริโภคกันในหมู่ชาวจีนเท่านั้น  แต่ปัจจุบันผักน้ำเป็นที่รู้จักและบริโภคกันแพร่หลายโดยได้นำมาปลูกในโครงการหลวง และกลุ่มปลูกเพื่อการค้าตลาดผัก HYDROPONIC ใบของ WATERCRESS เป็นใบประกอบ (PINNATE) คือ 1 ก้านใบมีใบย่อยหลายใบ

2.ผักเป็ดญี่ปุ่น (ALTERNANTHERA) 
ผักเป็ดอยู่ใน  GENUS  ALTERNANTHERA ซึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย แล้วเรียก  WATER CRESS  นั้นคือ ผักเป็ดญี่ปุ่น  โดยบริษัท ไลฟ์ไลน์ฯ ได้นำผักเป็ดญี่ปุ่นมาปลูกในโรงเรือนที่อำเภอหนองเสือ  ปทุมธานี และปลูกที่โรงเรือน กระบี่และที่เชียงราย  โดยนำพันธุ์เข้ามาช่วงมี 2538-2539 โดยใช้ชื่อเรียกว่า  WATER CRESS  เหมือนกัน  ต่อมาได้แพร่หลายในภาคเหนือและภาคใต้และการที่เรียกชื่อ   WATER CRESS  เหมือนกัน  ทำให้คนสับสน  ดังนั้น  WATER CRESS  ที่ขายตามห้างทั่วไปนั้นและที่ปลูกแพร่หลายทั่วไปนั้นแท้ที่จริงแล้วคือ   ผักเป็ดญี่ปุ่น  นั่นเอง


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=888001


15 July 2015

วิธีเพาะเมล็ดกุหลาบ

เนื่องจากช่วงนี้เกิดสนใจที่จะหาวิธีเพาะเมล็ดกุหลาบ มาทดลองเพาะเอง เพื่อจะมีสวนกุหลาบสวยๆแปลกๆ แบบคนอื่นเขาบ้าง ไหนๆก็จะทดลองแล้ว ก้เลยเอาวิธีเพาะเมล็ดกุหลาบ มาแบ่งปันกัน
บางคนอาจจะเคยรู้มาบ้าง หรือว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ ครั้งนี้ก็เลยรวบรวมเอาวิธีการเพาะเมล็ดกุหลาบไว้ซะทีเดียวเลย

วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์กุหลาบ
วิธีที่ 1.
ก่อนนำเมล็ดกุหลาบไปปลูกต้องทำให้เมล็ดกุหลาบเปิดตัวก่อน เพื่อคลายการพักตัวของเมล็ด
ซึ่งการเพาะเมล็ดกุหลาบจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ ประมาณ 35 องศาฟาเรนไฮต์
(1-2 องศาเซลเซียส )
โดยมีวิธีทำดังนี้
-เตรียมผ้าหรือกระดาษ พับครึ่ง โดยชุบน้ำสะอาดครึ่งหนึ่ง
-วางเมล็ดกุหลาบไว้ด้านในของผ้าหรือกระดาษ
-นำผ้าหรือกระดาษที่มีเมล็ดกุหลาบใส่ไว้ในถุงซิปล็อค
-นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เป็นเวลา 45 ถึง 60 วัน เมื่อเมล็ดเริ่มแบ่งชั้น(แตกตัว) นำไปปลูกตามวิธีการปลูก
ขั้นต่อไปได้เลย

วิธีที่ 2.
ก่อนนำเมล็ดกุหลาบไปปลูกต้องทำให้เมล็ดกุหลาบเปิดตัวก่อน เพื่อคลายการพักตัวของเมล็ด
ซึ่งการเพาะเมล็ดกุหลาบจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ ประมาณ 35 องศาฟาเรนไฮต์
(1-2 องศาเซลเซียส )
โดยมีวิธีทำดังนี้
1.นำเมล็ดกุหลาบ กับเพอร์ไลท์ ใส่รวมกันในขวดโหล
2.ใส่น้ำจนท่วมเพอร์ไลท์ ปิดฝ้าขวดให้แน่น จากนั้นใช้พลาสติกหุ้มปากขวดอีกครั้ง
3.นำไปใส่ตู้เย็นเป็นเวลา 45-60 วัน

หลังจากที่ได้เมล็ดพร้อมเพาะต้นอ่อนแล้วก็สามารเพาะต้นอ่อนได้ ดังนี้
วิธีที่ 1.


วิธีที่ 2.