25 June 2013

อินทผาลัม คือ อะไร?

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า 
นับจากที่ได้ยินคำว่า "อินทผาลัม" ตลอดเวลาล่วงเลยมา 10-20 ปี 
ก็ไม่รู้ว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไม่เคยได้กิน ไม่เคยเห็น ไม่เคยสนใจ

แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (2556) ได้รับของฝากเป็นอินทผาลัมผลแห้ง มาลองกินดู
พอกัดกินคำแรก 
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เนท)

"โอ้แม่เจ้า ! มันหวานมาก บาดคอสุดๆ ยังกะเอาแช่น้ำเชื่อมเลย "

อย่ากระนั้นเลยเอาไปแช่ตู้เย็นไว้ก่อนดีกว่า ค่อยๆกินไป
(จะได้ไม่เสียน้ำใจคนเอามาฝาก... อิอิอิ)

ผ่านไป 1 วัน ทำใจเอาออกมากินใหม่ คราวนี้พอกัดกินคำแรกก็ตกใจอีกที

"โอ๊ะ! แช่เย็นแล้ว มันอร่อยขึ้นแฮะ ไม่หวานมาก เนื้อแน่น เคี้ยวหนึบดี"

"มันแปลกจริงหนอ"

ต่อมอยากรู้อยากเห็นก็เริ่มทำงาน 

"ทำไมมันเป็นแบบนี้เนี่ย"

ก็เลยเข้าอินเตอร์เนท หาความรู้ประดับสมองสักหน่อยดีกว่า ว่า "อินผาลัม" 
รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง มีที่มาอย่างไร 
เพาะปลูกอย่างไร  
คุณค่าทางโภชนาการอินทผาลัมมีอะไร


(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
ซึ่งหลังจากที่อ่านมาก็พอสรุปได้ว่า
อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม ชื่อสามัญ Dates ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera, L. 

มีหลายสายพันธุ์มาก ทั่วโลกมีประมาณ 600 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอยู่ในแถบตะวันออกกลาง 

ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นก็ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบเป็นใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง มีลักษณะแบบขนนก ทางใบยาวประมาณ 3-4 เมตร

ช่อดอกจะออกจากโคนใบ 
มีผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร 
ออกเป็นช่อ รสหวานฉ่ำ ทานได้ทั้งผลดิบและสุก ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

มีรสชาติหวานจัด จึงมักถูกเข้าใจผิดว่ามีการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล 
(เข้าใจผิดเหมือนกันเลย นึกว่ามีแค่เราคนเดียว)

คุณค่าทางโภชนาอินทผาลัม ก็มีดังนี้
1. ด้านคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของอินทผลัม เช่น แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไตล์ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยลดอาการท้องผูก ให้พลังงานสูง บำรุงร่างกายที่อ่อนล้า นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. ด้านการรักษาโรค อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความหิว แก้กระหาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ ช่วยลดเสมหะในลำคอ ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อโรค พยาธิและสารพิษที่ตกอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้อง
แหล่งข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/อินทผาลัม

คราวนี้ก็พอจะรู้จักอินทผาลัมเพิ่มมากขึ้นละ อยากลองปลูกอินทผาลัมดูซะแล้วสิ มาลองกันเลยดีกว่า